หนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องราวประสบการณ์ในอดีตของคนไทย โดยเฉพาะสามัญชนในการรับรู้เข้าใจ เผชิญหน้าและจัดการกับโรคระบาดในแต่ละสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป จากการรับรู้ว่าโรคระบาดเกิดจากปีศาจตามคัมภีร์เวชศาสตร์โบราณจนต้องไล่ผีด้วยพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา จนมาสู่ช่วงเริ่มต้นสมัยใหม่การรับรู้ว่าโรคเกิดจากความสกปรกของบ้านเมืองและสิ่งแวดล้อมจนอายพิศม์ทำให้เกิดโรคระบาดและต้องรักษาความสะอาดทั้งส่วนบุคคลและสาธารณะ จนกระทั่งการมาถึงของความรู้เรื่องเชื้อโรคทำให้เกิดโรคระบาดเฉพาะแต่ละโรคขึ้น จึงต้องตัดวงจรการติดต่อและกำจัดทำลายเชื้อไปพร้อมๆ กับการสาธารณสุขที่ควบคุมกำจัดแหล่งเกิดโรคและส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคให้แก่ประชาชนมาเป็นผู้มีส่วนร่วมจนทำให้โรคระบาดลดความรุนแรงไปมาก (บางส่วนจากคำนำนักเขียน)
สารบัญ
บทนำ
๑. ประวัติศาสตร์ของโรคและความเจ็บป่วย
๒. โรคและความเจ็บป่วยในประวัติศาสตร์ไทย
๓. จากความหวาดกลัวปีศาจสู่เชื้อโรค ประวัติศาสตร์อารมณ์ความรู้สึกของอหิวาตกโรค
ในสังคมไทยช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๕
๔. จากไข้ป่าสู่มาลาเรีย การบุกเบิกพื้นที่เกษตรกรรมความเป็นเมืองและชนบทในประวัติศาสตร์สังคม
ของโรคมาลาเรีย ทศวรรษ ๒๔๔๐-๒๔๗๐
๕. การแพทย์ในประวัติศาสตร์ไทยการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ส่งผลต่อการแพทย์
บรรณานุกรม