"ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในระดับสูงที่ดำรงอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น ได้กลายเป็นแรงจูงใจสำคัญของชนชั้นปกครองเก่าที่ต่อต้านระบอบการปกครองใหม่แบบประชาธิปไตย เนื่องจากหากยอมให้ระบอบนี้ลงหลักปักฐานได้สำเร็จแล้ว ฝ่ายตนจะต้องยอมรับการกระจายทรัพยากรให้แก่ชนส่วนใหญ่ของสังคมมากเกินกว่าที่ตนจะยอมรับได้" --- จากบทนำ
ทุน วัง คลัง (ศักดิ) นา : สมรภูมิเศรษฐกิจการเมืองไทย กับประชาธิปไตยที่ไม่ลงหลักปักฐาน ชวนผู้อ่านย้อนกลับไปขุดรากประวัติศาสตร์ของปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ซึ่งสัมพันธ์กับการสร้างประชาธิปไตยในสังคมไทย จากยุค "ทำนาบนหลังคน" สู่การปฏิรูประบบเศรษฐกิจภายหลังการปฏิวัติ 2475 ที่มุ่งกระจายทรัพยากรให้แก่ประชาชน แต่ใช่ว่าความพยายามนี้จะบรรลุผลได้โดยง่าย เมื่อชนชั้นปกครองเก่ากำลังรอคอยจังหวะเวลาอันเหมาะสมที่จะทวงอำนาจและผลประโยชน์ที่สูญเสียไปกลับคืนมาอีกครั้ง